เมนู

ทรงปรารภธรรมเครื่องอยู่ คืออรหัตผลสมาบัติ และอนุปาทิเสสนิพพาน
ของท่านสุภูติ จึงทรงเปล่งอุทานอันเกิดจากกำลังปีติ.
จบอรรถกถาสุภูติสูตรที่ 7

8. คณิกาสูตร



ว่าด้วยบุคคล 2 พวก ส่วนสุด 2 อย่าง



[144] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์
มีนักเลง 2 พวก เป็นผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงแพศยาคนหนึ่ง เกิด
ความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ประหยัดประหารกันและกัน ด้วย
ฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง นักเลง
เหล่านั้นถึงความตายในที่นั้นบ้าง ถึงความทุกข์ปางตายบ้าง ครั้งนั้นแล
เป็นเวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกัน นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยัง
พระนครราชคฤห์ ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ กลับจาก
บิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ในพระนคร
ราชคฤห์ มีนักเลง 2 พวก เป็นผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงแพศยา
คนหนึ่ง . . . ถึงความตายในที่นั้นบ้าง ถึงความทุกข์ปางตายบ้าง พระ-
เจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง
เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
เบญจกามคุณ ที่บุคคลถึงแล้วและที่บุคคลจะพึง
ถึง ทั้งสองนี้เกลื่อนกล่นแล้วด้วยธุลีคือราคะ แก่
บุคคลผู้เร่าร้อน ผู้สำเหนียกตามอยู่ อนึ่ง การศึกษา
อันเป็นสาระ ศีล พรต ชีวิต พรหมจรรย์ การอุปัฏ-
ฐากอันเป็นสาระ นี้เป็นส่วนสุคต อนึ่ง การประ-
กอบตนพัวพันด้วยความสุขในกาม ของบุคคลผู้ที่
กล่าวอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี นี้เป็นส่วนสุดที่ 2
ดังนั้น ส่วนสุดทั้งสองนี้ จึงเป็นที่เจริญแห่งตัณหา
และอวิชชา ตัณหาและอวิชชาย่อมทำทิฏฐิให้เจริญ
สมณพราหมณ์บางพวกไม่รู้ส่วนสุดทั้งสองนั้น ย่อม
จมอยู่ (ในสงสารด้วยอำนาจการถือมั่นสัสสตทิฏฐิ )
สมณพราหมณ์บางพวกย่อมแล่นไป (ด้วยอำนาจ
การถือมั่นอุจเฉททิฏฐิ) ส่วนท่านผู้ที่ส่วนสุดทั้งสอง
นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปในส่วนสุดทั้งสองนั้น และ
ได้สำคัญด้วยการละส่วนสุดทั้งสองนั้น วัฏฏะของ
ท่านผู้ที่ดับไม่มีเชื้อเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติ.

จบคณิกาสูตรที่ 8

อรรถกถาคณิกาสูตร


คณิกาสูตรที่ 8

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เทฺว ปูคา ได้แก่ 2 คณะ. บทว่า อญฺญตริสฺสา คณิกาย
ได้แก่ หญิงงามเมืองคนหนึ่ง. บทว่า สารตฺตา แปลว่า กำหนัดด้วยดี.
บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺตา แปลว่า มีจิตผูกพันด้วยกิเลส.
ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ในวันมหรสพวันหนึ่ง พวกนักเลงเป็น
อันมาก เที่ยวกันเป็นพวก ๆ แต่ละคนก็นำหญิงแพศยามาคนหนึ่ง ๆ เข้า
สวนเล่นมหรสพ. หลังจากนั้น ในวันมหรสพ นักเลง 2-3 คน พาหญิง
แพศยาคนนั้นแหละมาเล่นมหรสพ ครั้นวันมหรสพวันหนึ่ง พวกนักเลง
แม้เหล่าอื่น ก็ประสงค์จะเล่นมหรสพเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจะนำหญิง
แพศยามา จึงนำหญิงแพศยาคนหนึ่งที่พวกนักเลงพวกก่อนเคยนำมา ฝ่าย
นักเลงพวกก่อนเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า หญิงนี้อยู่ในปกครองของพวกเรา.
ฝ่ายนักเลงพวกหลังก็ได้กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. นักเลงทั้ง 2 พวกนั้น
ก่อการทะเลาะกันว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็ปกครองได้ พวกเรา
ก็ปกครองได้ จึงได้ประหัตประหารกันด้วยฝ่ามือเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน ราชคเห เทฺว ปูคา ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปกฺกมนฺติ แปลว่า ประหารกัน .
บทว่า มรณมฺปิ นิคจฺฉนฺติ ความว่า เข้าถึงความตายด้วยการประหารกัน
อย่างรุนแรง. ฝ่ายอีกพวกหนึ่งได้รับทุกข์ปางตาย คือมีความตายเป็น
ประมาณ.